มารู้จักการทำงานของพัดลมกันเถอะ !!!
พัดลมทุกชนิดจะทำหน้าที่หลักๆอยู่ 2 ประเภทคือ
1.ความสามารถในการดูดอากาศ และ 2.ความสามารถในการเติมอากาศ
เนื่องจากหลักการทำงานของพัดลมคือ การสร้างความแตกต่างแรงดัน เราจะดูดลมด้านหนึ่งเพื่อเป่าออกอีกด้านหนึ่ง นี่คือคำอธิบายง่ายๆเพื่อให้เห็นภาพ
และความสามารถดังกล่าวของพัดลมแต่ละชนิดก็จะแตกต่างกันไปตามลักษณะโครงสร้าง ลักษณะวัสดุที่ใช้ในการผลิต และปัจจัยอื่นๆ เช่น
– พัดลมครูเกอร์ฯ รุ่น BSB (Single Inlet Centrifugal fan with Backward wheels) เหมาะกับงานประเภทดูดอากาศมากกว่าเป่า ด้วยลักษณะโครงสร้างพัดลม ที่มีช่องทางดูดหนึ่งด้าน-เป่าหนึ่งด้าน ส่วนใหญ่นิยมใช้ต่อท่อในงานดูดควันตามร้านอาหาร
– พัดลมครูเกอร์ฯ ประเภท Jet Fan ส่วนใหญ่ใช้ในงานเป่าส่งลมไล่อากาศร้อน อากาศมลพิษในลานจอดรถ
– พัดลมครูเกอร์ฯ ประเภทติดผนัง รุ่น APL ก็เหมาะกับงานระบายอากาศ เพราะความสามารถในการดูดและเป่าลมไม่สูงมาก ด้วยลักษณะใบเป็น Axial ดูดตรง เป่าตรง ตัวพัดลมจึงสร้างแรงดันลมได้ไม่สูงนัก
ทำไมต้องเลือกใช้พัดลมใบเหล็ก(BSB)สำหรับงานดูดอากาศในครัว
ทำไมถึงไม่นิยมใช้ใบกรงกระรอก(FSA) ประเด็นนี้เป็นเรื่องทีน่าสนใจเป็นอย่างมาก สำหรับลูกค้าที่ต้องการหาพัดลมเพื่อดูดควันในครัว เราจะขออธิบายคร่าวๆให้เข้าใจกันง่ายๆนะคะ
– พัดลมครูเกอร์ฯรุ่น BSB เป็นพัดลมประเภทที่มีใบพัดหน้ากว้าง จำนวนใบไม่มาก แต่ลักษณะการทำลมของใบพัด จะใช้หลังใบในการตีลม ทำให้คราบต่างๆที่มากับอากาศหรือควันในระหว่างที่ทำอาหาร ถูกดูดและสลัดออกจากใบพัด….คำถามต่อมาคือ สลัดไปไหน? คราบเหล่านี้จะเกาะอยู่ตามโครงสร้างพัดลม และมารวมกันในจุดด้านล่างสุด ที่จะมีจุกสำหรับการถ่ายน้ำมันออกเรียกว่า Drian Plug ค่ะ
– พัดลมครูเกอร์ฯประเภท FSA เป็นพัดลมประเภทที่ใบพัดมีลักษณะคล้ายกรงกรอก ขนาดใบเล็กและถี่ ลักษณะการทำลมจะใช้วิถีกวักลมเข้า เมื่อใช้ในงานดูดควันที่มีคราบน้ำมันหรือสิ่งสกปรก จะทำให้คราบเหล่านี้เกาะตามโคนใบ เมื่อใช้ไปในระยะเวลาหนึ่ง ใบพัดจะเสียสมดุล(คราบที่เกาะ ก็เหมือนการถ่วงน้ำหนักที่ใบพัดเพิ่ม) ทำให้พังและชำรุดไปในที่สุด จึงเหมาะกับงานประเภท Fresh Air เติมลมมากกว่า เพราะอากาศที่จะเติมเข้าไปไม่มีคราบสกปรกจากการทำครัว
คำถามถัดมาคือ…จำเป็นไหม? ถ้าเรามีพัดลมดูดควันออก แล้วต้องมีพัดลมเติมอากาศเข้า
คำตอบคือ แล้วแต่ลักษณะหน้างาน เช่น ถ้าเป็นห้องที่มีการเปิด-ปิดประตู อยู่เป็นประจำ อากาศก็จะเข้ามาเองโดยธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องใช้พัดลมช่วยเติมก็อากาศก็ได้ หากต้องการเติมก็สามารถทำได้ แต่จะเป็นการสิ้นเปลืองสำหรับลูกค้า ในทางกลับกันหากห้องนั้นเป็นห้องที่ไม่มีระบบให้อากาศถ่ายเทเข้ามาเลย จำเป็นต้องใช้พัดลมเติมอากาศ (Fresh Air) เข้าช่วย เพราะหากไม่เติม คนที่ต้องอยู่ในห้องดังกล่าวจะรู้สึกร้อน ไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว เพราะอากาศไม่มีการถ่ายเทหรือหมุนเวียน
แต่ร้านอาหารที่อยู่ตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ จำเป็นต้องมีพัดลมเติมอากาศ เนื่องจากหากในร้านมีการดูดควันอากาศออก นั่นหมายความว่าอากาศในห้องจะเป็นลบ ทำให้อากาศเย็นในห้างสรรพสินค้าที่มีค่าเป็นบวกไหลเข้ามาในร้านอาหารนั้นๆ ในกรณีนี้จะส่งผลให้อากาศในห้างสรรพสินค้าความเย็นลดลง และจะเป็นการเพิ่มภาระในการทำความเย็นของห้างสรรพสินค้า ลักษณะการเติมอากาศในร้านอาหารอาจจะใช้วิธีสร้างม่านอากาศบริเวณประตูปิด-เปิดก็ได้ เพื่อป้องกันการไหลของอากาศในห้างสรรพสินค้าเข้ามา
จะเลือกพัดลมดูดควันในครัว ต้องรู้อะไรบ้าง
- ขนาด Hood หรือกระโจม ที่ใช้ในการดูดควัน (ความกว้าง*ความยาว) ยิ่ง Hood ขนาดใหญ่ ก็จำเป็นต้องใช้พัดลมที่ดูดลมปริมาณมาก
- ความยาวท่อโดยรวม และจำนวนข้องอของท่อ การเดินทางของลม ยิ่งไกลยิ่งงอก็จะยิ่งสูญเสียลมไประหว่างทาง ทำให้จำเป็นต้องทราบ Pressure Loss แรงดันที่สูญเสียไปด้วย
ทำไมต้องใช้ Hood ในการดูดควันด้วย?
หากดูดควันจากท่อโดยตรง พื้นที่ที่สามารถดูดควันได้ก็จะเป็นพื้นที่ของหน้าตัดท่อ ซึ่งมีบริเวณค่อนข้างแคบ การใช้ Hood คือการกำหนดพื้นที่ที่ต้องการดูดควันให้ครอบคลุมทั้งหมด
แล้วเราควรเลือกใช้ Hood ขนาดเท่าไหร่?
ไม่ยากเลย สำหรับคำถามนี้ ให้เลือกขนาดที่ใหญ่กว่าขนาดเตาเล็กน้อย ถ้าทราบขนาดเตาก็จะทราบขนาด Hood ที่ควรเลือกใช้
Hood จำเป็นต้องมีตะแกรงกรองน้ำมันไหม?
คำตอบนี้ขึ้นอยู่กับลูกค้าเลยค่ะ ตะแกรงกรองน้ำมัน ก็คือด่านแรกที่ใช้ดักจับคราบน้ำมันก่อนถูกดูดไปถึงตัวพัดลม เพราะคราบน้ำมันที่ถูกดูดเข้าตัวพัดลม ส่วนหนึ่งนอกจากเกาะตามโครงสร้างพัดลมแล้ว ยังถูกเป่าออกทางอากาศภายนอกด้วยเช่นกัน (ถ้ามีบ้านใกล้เรือนเคียงอยู่ติดๆกัน ก็ควรใส่ตะแกรงกรองน้ำมันค่ะ เพื่อป้องกันคราบที่อาจจะหลุดไปรบกวนบ้างข้างๆให้น้อยที่สุด)
รูปแบบการติดตั้งท่อดูด-เป่าสำคัญไฉน?…….สำคัญมาก !!
เนื่องจากการทำงานของอากาศ(ลม) จะแปรเปลี่ยนทิศทางการไหลตามลักษณะของท่อ การเดินท่อที่ดีย่อมมีผลมากต่อการเดินทางของลม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเดินท่อพัดลมด้านเป่าสั้นและมีข้อง้อหักทันที ก็ไม่ต่างอะไรกับการเอาแผ่นสังกะสีปิดปากพัดลม นั่นหมายความว่า ลมที่ออกจากตัวพัดลมจะออกไปได้น้อย เกิดสภาวะลมอั้น เมื่อทิศทางของลมแปรปรวนบางส่วนอาจพุ่งออกไปได้ แต่บางส่วนก็อาจจะย้อนกลับ หรือบางส่วนก็จะไปพุ่งใส่ท่อทำให้ท่อเกิดความเสียหาย การติดตั้งลักษณะนี้ต่อให้พัดลมดูดได้แรงแค่ไหนก็จะไม่สามารถนำลมออกไปได้เช่นกัน
***ลมที่ดูดเข้ามาและลมเป่าออกไป ควรมีระยะให้ลมไม่ปั่นป่วน เพื่อจะได้ปริมาณลมที่เต็มประสิทธิภาพ***
รูปด้านล่างคือ ลักษณะและระยะแนะนำ ในการติดตั้งท่อทางดูด-เป่า ของพัดลมครูเกอร์ฯ