Author: PeeraponK

ติดตั้งพัดลมเจ็ท KRUGER (IJB, IJC II)

งานระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเลือกใช้พัดลมครูเกอร์ ประเภท Jet Fan
เพื่อประหยัดพื้นที่ติดตั้งจากระบบเติมลมแบบท่อ สำหรับงานนี้ทางลูกค้าเลือกใช้พัดลมครูเกอร์ฯ(KRUGER)
ซึ่งทางพีเคฯได้ออกแบบให้ใช้พัดลมเจ็ททั้งสองประเภทร่วมกันได้แก่  IJB (ทรงTube) และ IJC II (ทรงนกหวีด)
โดยนำลักษณะเด่นของทั้ง 2 ประเภทมาใช้ในการออกแบบส่งลมให้กับพนักงานในไลน์ผลิต 

การคำนวณปริมาณลม(คร่าวๆ)จากฮูดดูดควัน

การเลือกใช้พัดลมหอยโข่ง (Centrifugal Fan)  สำหรับระบบดูดควันตามร้านอาหารทั่วไปนั้น สิ่งที่จำเป็นต้องรู้เพื่อเลือกขนาดและกำลังพัดลมให้มีความแรงพอที่จะดูดควันจากการทำอาหารได้อย่างเหมาะสม ได้แก่   1) ปริมาณลม  2) Static Pressure (Loss ในระบบ เช่น ฟิลเตอร์กรองน้ำมัน, ข้องอ, ระยะความยาวท่อ, ขนาดท่อ, ลักษณะการติดตั้ง เป็นต้น)

นอกจากนี้ในกรณีพื้นที่ปิด  หรือ พื้นที่ที่ไม่ช่องให้ลมธรรมชาติไหลเติมเข้ามา(หรือมีแต่น้อย)  ควรเพิ่มระบบเติมอากาศเข้าไปในห้อง  เพื่อให้การดูดอากาศทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ (คล้ายๆการปรับสมดุลธรรมชาติ กล่าวคือ เมื่อมีอากาศถูกดูดออก–ก็ต้องมีอากาศเติมเข้ามา // ถ้าดูดอย่างเดียวโดยที่ไม่มีการเติมอากาศ–>สุดท้ายแล้วก็จะไม่เหลืออากาศให้ดูด–>ซึ่งส่งผลให้การดูดไม่เป็นผลในที่สุด เปรียบเสมือน การดูดกล่องนมจนฟี๊บจนไม่เหลืออะไรให้ดูดแม้แต่อากาศ แต่ถ้าเราปล่อยให้อากาศไหลเข้ากล่องนม เราก็ยังสามารถดูดอากาศนั้นได้เรื่อยๆ

———————————————————————————————-

———————————————————————————–

Wolter Ceiling Fan

พัดลมแบบฝังเพดาน  หรือ Ceiling Fan  ภายใต้แบรนด์  ” WOLTER “

CPM Series (Half Metal)
พัดลมฝังฝ้าแบบต่อท่อ มี Wind Shield ป้องกันล้อมย้อนกลับ  มีใบพัดให้เลือก 3 ขนาด (5″ , 6″ , 7″) 
เป็นพัดลมประเภท Centrifugal
–  ใบพัด ผลิตจาก PP
–  Casing ผลิตจาก แผ่นเหล็กพ่นสีกันสนิม
–  หน้ากาก ABS คงทนเงางาม
–  มอเตอร์ตั้งตั้ง Thermal Fuse ตัดไฟอัตโนมัติ เมื่อมอเตอร์มีอุณหภูมิสูง

     

**พัดลมรุ่นนี้ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ตามที่พักอาศัย คอนโดมิเนียม // ใช้ในงานระบายอากาศในห้องน้ำเป็นส่วนใหญ่**

**ด้วยราคาที่ย่อมเยาว์ เป็นแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถืออยู่ภายใต้เครือ TN GROUP**

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> wolter Catalogue–Ceiling

ความสำคัญของขนาดท่อลม

ผังถนนในการเดินรถ ก็เปรียบเสมือน ผังการเดินท่อในระบบระบายอากาศ
รถยนต์บนถนน เปรียบเสมือน ตัวแทนของอากาศในระบบท่อ
การลดเลนถนนจาก 4-6 เลน เหลือเพียง 2-3 เลน ทำให้เกิดการจราจรติดขัด ก็เปรียบเสมือน

การลดขนาดท่อทำให้เกิด #สภาวะลมอั้น ต่อให้พัดลมทำลมแรงแค่ไหน ก็ไม่สามารถแสดงประสิทธิภาพได้เต็ม 100%

#ลมอั้น เกิดจากการไหลออกของอากาศลดลง เมื่อปริมาณลมออกได้น้อยลง ย่อมส่งผล effect ต่อปริมาณลมด้านดูดที่น้อยลงเช่นกัน  โดย #สภาวะลมอั้น ที่เกิดขึ้นนี้ถือเป็น Static Pressure (Pressure Loss) ในระบบที่เพิ่มขึ้น ซึ่ง Static Pressure ที่เพิ่มขึ้นมานี้ อาจไม่ถูกคำนวณเผื่อไว้ในตอนแรกในการเลือกพัดลม ส่งผลให้พัดลมไม่สามารถทำปริมาณลมได้ตามที่คำนวณไว้

การลดขนาดท่อที่ไม่เป็นไปตามคำแนะนำหรือมาตรฐานที่เหมาะสม เปรียบเสมือนการเพิ่ม Pressure Loss ในระบบ ทำให้ปริมาณลมเข้า-ออก ลดลง หรือเปรียบเสมือน ขวดน้ำที่คอคอด เราจะสังเกตได้ง่ายๆจากตอนเราเทน้ำออกจากขวดประเภทนี้ น้ำจะแข่งกันไหลออกจนเกิดแรงดันอากาศ ความเร็วน้ำที่ไหลออกจากปากขวดก็จะแรง(Velocity Outlet)เมื่อเทียบกับการเทน้ำออกจากแก้วน้ำ

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Cr…ภาพประกอบจาก google และสไลด์ System Effect จาก #พัดลมครูเกอร์

แนะนำการเดินท่อพัดลมหอยโข่ง(พัดลมครูเกอร์)

พัดลมอุตสาหกรรม (ในรูปตัวอย่างคือ พัดลมหอยโข่ง) โดยอ้างอิงข้อมูลจาก พัดลมครูเกอร์ ผู้ผลิตพัดลมอุตสาหกรรมรายหลัก
ในส่วนของ Installation Guidelines ที่เป็นสติ๊กเกอร์สีเหลืองนั้น ปกติจะถูกติดมากับพัดลมครูเกอร์ฯทุกตัว
เราจะมาอธิบายระยะ A กับ B เพิ่มเติม เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจมากขึ้น โดยเราจะอ้างอิงระยะ A กับ B ควบคู่กับระยะตัวแปรต่างๆใน catalog พัดลมครูเกอร์ฯ
     – ระยะ A : ระยะท่อตรงแนะนำ ก่อนที่จะหักข้องอ หรือลดหลั่นท่อ เพื่อให้ ลมที่ดูด-เป่า มีการไหลที่ราบรื่น นั่นหมายถึงมีประสิทธิภาพที่ดี
     – ระยะ B : ขนาดท่อแนะ
       ระยะ B ด้านดูด = ระยะ V ใน catalog (ท่อกลม)
       ระยะ B ด้านเป่า = ระยะ S,K ใน catalog (ท่อเหลี่ยม)
**ทั้งนี้ หากระยะ A กับ B ต่ำกว่าที่ผู้ผลิตแนะนำ ลมทั้งด้านดูด-เป่า จะต่ำกว่าสเป็กที่ลูกค้ากำหนด เพราะการติดตั้งก็คือ Pressure Loss ตัวสำคัญตัวหนึ่ง ที่ทำให้เกิดปัญหาลมไม่เพียงพอ หรือเรียกในศัพท์พัดลมว่า static pressure**
หมายเหตุ :  นี่คือการอธิบายให้ความรู้โดยคร่าวๆ เพื่อให้งานติดตั้งเข้าใจง่ายเท่านั้น หากนำไปใช้เสนองานควรหาข้อมูลอ้างอิงจากแหล่งต่างๆโดยละเอียด

 
 
 
                
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

พัดลม Jet Fan (JVC)

พัดลม Jet Fan  PETA MODEL :  JVC  (Jet Vent Centrifugal)  
เป็นพัดลมที่นิยมใช้กันในลานจอดรถ  หรืออาคารคลังสินค้าขนาดใหญ่  ที่ต้องการส่งแรงลมให้ได้ในระยะไกลๆ
Jet Fan รุ่นนี้ เป็นพัดลมที่มีลักษณะคล้ายนกหวีด  ทำให้การติดตั้งไม่กินพื้นที่  ติดตั้งง่าย  

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —>JVC Series Induced Jet Fan

พัดลมระบายอากาศติดผนัง (FD)

พัดลมระบายอากาศติดผนัง (FD) ภายใต้แบรนด์  “PETA”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองลูกค้าที่ต้องการพัดลมดูดควันขนาดกระทัดรัด ติดตั้งง่าย ราคาย่อมเยาว์  
เหมาะกับเนื้อขนาดเล็ก  ตัวพัดลมทำด้วยวัสดุสแตนเลส (Stainless Steel) ทนต่อการกัดกร่อน  
มาพร้อมกับสายไฟยาว 1.5 เมตร  และสวิตช์เปิด-ปิด ที่สามารถปรับความแรงลมได้ สะดวก ตามที่ต้องการ

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> ‘PETA’ Wall Type High-Speed Fan

KMS (Mini Sirocco Fan)

 

KMS :  พัดลมชนิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugal) ที่มีใบพัดกรงกระรอก
หน้าใบพัดกวักลมกินลมไปข้างหน้า (Forward Curved)  
ลักษณะพิเศษ :  เป็นพัดลมเติมอากาศขนาดเล็กกระทัดรัด เหมาะสำหรับงานที่ต้องการเติมอากาศขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ด้วยขนาดที่กระทัดรัดทำให้สามารถติดตั้งได้ง่าย ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย <<พัดลมสต็อก ไม่ต้องรอสั่งผลิต แต่ต้องเช็คสินค้าทุกครั้งก่อนการสั่งซื้อ>>

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> KMS – LEA142.E0.ED2




การระบายอากาศคืออะไร?

การระบายอากาศ หมายถึง การทำให้อากาศเกิดการไหลเวียนและถ่ายเทภายในอาคาร โดยจะต้องมีระบบการนำเอาอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกเข้ามาเติม (Fresh Air) ในบริเวณที่ต้องการปรับอากาศ ในปริมาณที่เพียงพอ และจะต้องมีการระบายอากาศเสีย (Exhaust Air) ทิ้งออกไป เพื่อรักษาคุณภาพอากาศภายในอาคาร ซึ่งประเภทของการระบายอากาศแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. การระบายอากาศตามธรรมชาติ คือ การไหลของอากาศผ่านทางช่องเปิดหน้าต่าง ประตู และช่องเปิดของเปลือกอาคาร    เกิดขึ้นจากแรงดันอากาศที่แตกต่างตามธรรมชาติ หรือที่มนุษย์สร้างขึ้น

                                                                                              รูปที่ 1 แสดงการระบายอากาศตามธรรมชาติ

          2. การระบายอากาศแบบเครื่องกล คือ การตั้งใจให้เกิดการเคลื่อนที่ของอากาศเข้า     และออกจากอาคารโดยใช้พัดลมในการระบายอากาศ

                                                                                                 รูปที่ 2 แสดงการระบายอากาศทางกล

ตารางเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียระหว่างการระบายอากาศแบบธรรมชาติและแบบเครื่องกล

 

การระบายอากาศแบบเครื่องกล

การระบายอากาศแบบธรรมชาติ

ข้อดี

เหมาะสำหรับทุกสภาพอากาศ ระบบระบายอากาศทางกลสามารถควบคุมได้โดยมนุษย์ และสามารถปรับระดับการถ่ายเทของอากาศได้ตามต้องการ

ไม่มีต้นทุนในการลงทุนในการติดตั้งระบบประบอากาศ และต้นทุนค่าไฟฟ้า อีกทั้งยังไม่ต้องมีกระบวนการบำรุงรักษา

ข้อเสีย

ต้องมีการติดตั้งเพิ่มเติม ส่งผลให้มีต้นทุนที่สูงกว่าการระบายอากาศแบบธรรมชาติ และกระบวนการในการบำรุงรักษา อีกทั้งยังก่อให้เกิดมีเสียงดังเกิดขึ้นจากระบบปรับอากาศ

ไม่สามารถควบคุมอัตราการระบายอากาศได้ โดยการระบายอากาศจะเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่เปิด ของพื้นที่ที่ต้องการระบายอากาศ

 

TBE-V (Vane Axial Fan-Belt Driven)

 

TBE-V : พัดลมชนิดไหลตามแนวแกน (Axial) Casing ทำมาจากเหล็กชุบสังกระสี โดยใบพัดมี 2 ชนิดคือ Aluminium และ PPG,PAG  โดยรุ่น –V จะมีการเพิ่มครีบนำลมที่ด้านเข้าของอากาศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงยิ่งขึ้นและเสียงเงียบ เป็นพัดลมที่เหมาะสำหรับการดูดหรือเติมอากาศในอุตสาหกรรมการผลิต และในอุตสาหกรรมระบบปรับอากาศ ที่ใช้แรงดันไม่สูง มีพื้นที่ติดตั้งน้อย หรือลักษณะของท่อลมบังคับให้เป็นแนวตรง  ขับด้วยสายพาน

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> TBE-V Series Catalogue

TBE (Axial Flow Fan – Belt Driven)

TBE : พัดลมชนิดไหลตามแนวแกน (Axial) Casing ทำมาจากเหล็กชุบสังกระสี โดยใบพัดมี 2 ชนิดคือ Aluminium และ PPG,PAG เป็นพัดลมที่เหมาะสำหรับการดูดหรือเติมอากาศในอุตสาหกรรมการผลิต และในอุตสาหกรรมระบบปรับอากาศ ที่ใช้แรงดันไม่สูง มีพื้นที่ติดตั้งน้อย หรือลักษณะของท่อลมบังคับให้เป็นแนวตรง ขับเคลื่อนด้วยสายพาน

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> TBE Series LEA003.E1.ED2

APN (Propeller Fan)

AP์N : พัดลมชนิดสำหรับติดตั้งบนผนังหรือแผง เพื่อนำอากาศเข้า-ออกภายนอกได้โดยตรง

    • สามารถทำได้ทั้งขับตรง และขับผ่านระบบสายพาน
    • สามารถเลือกทิศทางลมให้ดูด-เติม ได้
    • สามารถเลือกใช้สเป็กมอเตอร์(กันระเบิด)ได้

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> APN – LEA113.E0.ED2

RVF (Roof Exhaust Smoke-Spill Fan)

 

พัดลมดูดอากาศบนหลังคา   RVF  เหมาะกับงานดูดควัน ทนความร้อนได้สูงสุด 120 องศาเซลเซียส, มอเตอร์ IP55  Class F  3Phase
การใช้งานทั่วไป ได้แก่ ดูดอากาศในห้องครัว ในห้องปฏิบัติการ  และการระบายอากาศในอาคารพาณิชย์

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> RVF Series LEA046.E1.ED3

RDM (Mixed Flow Roof Fan)

 

พัดลมดูดอากาศบนหลังคา   RDM เหมาะสำหรับต่อท่อกลมโดยตรง  เป็นพัดลมที่มอเตอร์และ Impeller Casing สามารถถอดและหมุนได้ 180 องศา  ทนอุณหภูมิสูงสุดได้ 80 องศาเซลเซียส
การใช้งานทั่วไปสำหรับ  ดูดอากาศในห้องครัว ในห้องปฏิบัติการ  และการระบายอากาศในอาคารพาณิชย์

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> RDM – LEA062.E0.ED1

RDC (Roof Exhaust Centrifugal Fan)

 

พัดลมดูดอากาศบนหลังคา   RDC  ตัว Rain Hood ทำด้วยไฟเบอร์กลาส เหมาะกับสภาพอากาศเลวร้าย, ฐาน(ทำจากเหล็กชุบสังกะสี)ป้องกันการสั่นสะเทือน, ใบพัด(ทำจากเหล็กชุบสังกะสี) ทนอุณหภูมิสูงสุดได้ 80 องศาเซลเซียส
การใช้งานทั่วไป ได้แก่ ดูดอากาศในห้องครัว ในห้องปฏิบัติการ  และการระบายอากาศในอาคารพาณิชย์

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> RDC – LEA034.E3.ED5

RCU (Upblast Centrifugal Roof Exhaust Fan)

 

พัดลมดูดอากาศบนหลังคา RCU มี 2 แบบคือ แบบขับตรง RCU-D และแบบขับผ่านสายพาน RCU-B
เหมาะสำหรับการกำจัดอากาศที่ค่อนข้างสะอาดออกจากอาคาร
การใช้งานทั่วไป ได้แก่ ดูดอากาศในห้องครัว ในห้องปฏิบัติการ  และการระบายอากาศในอาคารพาณิชย์

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> RCU-D Series LEA095.E0.ED1

                                                        —> RCU-B Series LEA085.E0.ED2

RCD (Downblast Centrifugal Roof Exhaust Fan)

 

พัดลมดูดอากาศบนหลังคา RCD มี 2 แบบคือ แบบขับตรง RCD-D และแบบขับผ่านสายพาน RCD-B
เหมาะสำหรับการกำจัดอากาศที่ค่อนข้างสะอาดออกจากอาคาร
การใช้งานทั่วไป ได้แก่ ดูดอากาศในห้องครัว ในห้องปฏิบัติการ  และการระบายอากาศในอาคารพาณิชย์

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —>  RCD-D Series LEA096.E0.ED1

                                                         —>  RCD-B Series LEA086.E0.ED2

 

ความหมายของ IP มอเตอร์ (IEC)

เรามาทำความรู้จัก ความหมายของ IP มอเตอร์ ที่ใช้ประกอบกับพัดลมอุตสาหกรรม

ก่อนที่ลูกค้าจะทำการเลือกซื้อกันนะครับ

         มอเตอร์ทั่วไปที่ลูกค้าเลือกใช้กับพัดลม จะมี 2 ลักษณะ คือ

        –   มอเตอร์ 3 Phase IE1 (ใช้กับไฟโรงงาน 380Volt) ส่วนใหญ่  จะอยู่ที่  IP55

        –   มอเตอร์ 1 Phase (ใช้กับไฟบ้าน 220Volt) โดยทั่วไป จะอยู่ที่ IP42

                                   

 

ระดับความดังของเสียง

ข้อมูลเสียงจาก :  กรมส่งเสริมสุขภาพสิ่งแวดล้อม

จะพบว่าเสียงที่ดังเกิน 85 เดซิเบล(เอ)  เป็นอันตรายต่อมนุษย์  จึงมีกฎเกณฑ์กำหนดดังนี้

 

***นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เรื่อง “การเปรียบเทียบความดังเสียง” เข้าใจง่ายๆตามรูปด้านล่างนี้

**จะพบว่า ระดับความดังพัดลมส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 65-70+ เดซิเบล(เอ)  ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ***

ราคาเหล็กพุ่งขึ้นสูง (พค.64)

 
 
Cr.ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเหล็กไทย
 
สถานการณ์ “ราคาเหล็กขึ้นสูง” ตลอดปี 2564 ด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งความต้องการใช้ที่มากขึ้นทั่วโลก
ทั้งนี้ราคาเหล็กในประเทศไทยและในเอเชียนั้น เป็นไปตามกลไกลของตลาดจีน
ข้อมูลด้านบนเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ตัดมาให้ได้เห็นสถานการณ์ราคาขึ้นสูงนี้ ของรอบเดือน พฤษภาคม 2564
สามารถเข้าอ่านรายงานฉบับเต็ม  ดาวโหลดไฟล์ คลิ๊กที่นี่ —> รายงานเหล็ก พค.64

พัดลม TACME

 

 

พัดลมอุตสาหกรรม แบรนด์ TACME :  มีหลายหลายผลิตให้เลือกใช้ตามลักษณะหน้างาน และความเหมาะสมของงานในระบบบายอากาศ
ได้แก่ Ceiling Fan, High Pressure Fan, Mini Sirocco Fan เป็นต้น

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —>  Catalogue TACME (APPROVE)–Update

พัดลม PANA

 

   

 

 

พัดลมอุตสาหกรรม แบรนด์ PANA :  มีหลายหลายผลิตให้เลือกใช้ตามลักษณะหน้างาน และความเหมาะสมของงานในระบบบายอากาศ
ได้แก่ พัดลมประเภท Ceiling Fan, Mini Sirocco Fan, Centrifugal Fan, Axial Fan, Jet Fan, High Pressure Fan, Compact Fan และ Cabinet Fan

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> เล่มรวม General Catalog IAQ

ผลงานการติดตั้ง

ลูกค้าสามารถเข้าชมผลงานการขายอีกมากมาย เพิ่มเติมได้ที่ ลิงค์ด้านล่างนี้ ↓↓↓
Page Facebook :  บริษัท พีเค สมาร์ท เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 

https://www.facebook.com/254597455384409/photos/a.562368687940616/904930157017799/?type=3

งานติดตั้งพัดลมดูดควัน (งานราชการ)

        

 

งานติดตั้งร้านอาหาร(บางนา)  บริษัท พีเค สมาร์ทฯ มีบริการทั้งด้านงานขายและงานติดตั้ง
สำหรับงานนี้เราช่วยลูกค้าคำนวณปริมาณลม โดยอ้างอิงจากขนาด Hood ที่ลูกค้าเลือกใช้
และอ้างอิงจากระบบการเดินท่อที่เราเข้าไปช่วยออกแบบ  ในพื้นที่ขอบเขตงานตามที่ลูกค้าต้องการ

 

งานติดตั้งพัดลมดูดควัน ร้านปิ้งย่าง (กทม.)

   

 

งานรื้อถอนพัดลมเดิม และติดตั้งพัดลมใหม่ด้วยวิธี Knock Down Part
เนื่องจากพื้นที่หน้างาน ไม่สามารถเคลื่อนย้ายทั้งตัวพัดลมเข้าได้ 

 

 

 

 

 

 

 

 

งานติดตั้งพัดลมครูเกอร์  APL 400  (ศูนย์ชีววิทยา มหิดล-พญาไท)

                

 

 

 

 

 

 

 

งานติดตั้งพัดลมดูดควัน พร้อม Hood  (บ้านพักอาศัย)

             

 

 

 

 

 


งานติดตั้งพัดลมดูดและเติมอากาศ ไลน์ผลิตโรงงานลูกค้า 

         

 

 

 

 

 

 

งานติดตั้งพัดลมครูเกอร์  MTD  ห้อง Lab  

 

 

 

 

 

 

 

ผลงานขาย

ลูกค้าสามารถเข้าชมผลงานการขายอีกมากมาย เพิ่มเติมได้ที่ ลิงค์ด้านล่างนี้ ↓↓↓
Page Facebook :  บริษัท พีเค สมาร์ท เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 
https://www.facebook.com/254597455384409/photos/a.562368687940616/904930157017799/?type=3

งานขายพัดลมครูเกอร์ FSA 900 TM ลูกค้านำไปใช้ในหน่วยงานราชการ (รพ.กาฬสินธุ์)                   

งานขายพัดลมครูเกอร์ BSB 500 CM ลูกค้านำไปใช้งานดูดควันร้านาหาร(จ.เชียงราย)

งานขายพัดลมครูเกอร์ RDA (Roof Fan) ใช้ในหน่วยงานราชการ

งานขายพัดลมครูเกอร์ BSB 400 CM ลูกค้านำไปติดตั้งดูดควันร้านอาหาร(กทม.)   

งานขายพัดลมครูเกอร์ BSB 560 CM ลูกค้านำไปติดตั้ง(สวนสัตว์เปิดเขาเขียว)

         

งานผลิต พัดลม Axial ตามความต้องการลูกค้า ใช้กับงานระบายความร้อนในตู้ปั่นไฟ

           

งานขายพัดลมครูเกอร์ BSB 400 CM ขนส่งทางรถไฟ ปลายทาง(สุไหงโกลก)

       

งานขายพัดลมครูเกอร์ BSB 355 CM ให้ลูกค้านำไปติดตั้งเองที่ร้านอาหาร (กทม.)

     

งานขายพัดลมครูเกอร์  FSA 315 FIX  ลูกค้านำไปประกอบมอเตอร์เอง

   

งานขายพัดลมครูเกอร์ BSB 355 CM ลูกค้านำไปติดตั้งเอง(ร้านอาหารที่เชียงราย)

             

งานขายพัดลมครูเกอร์ Mini Sirocco (ปลายทาง ระยอง, พัทลุง) ลูกค้านำไปใช้กับงานดูดอากาศ(ทันตกรรม)

              

งานขายพัดลมครูเกอร์ FAN UNIT KAT-SL2  (ปลายทาง นครนายก, พิจิตร) ลูกค้านำไปเปลี่ยนแทนของเดิม

งานขายพัดลมครูเกอร์ เพื่อใช้ดูดควันร้านอาหาร(ครัวใหญ่) ลูกค้าติดตั้งเอง

                     

งานผลิต พัดลม Roof Fan ขนาดและสเป็กตามความต้องการของลูกค้า (ใช้ในหน่วยงานราชการ)

Ring Blower (Norvax)

 

 

 

SIDE CHANNEL BLOWERS & VACCUUM PUMPS เป็นพัดลมที่ทำแรงดันได้สูง  นิยมใช้กับงานหลากหลายประเภท เช่น  งานเติมอากาศในบ่อกุ้ง-บ่อปลา, งานระบบบำบัดน้ำเสีย, งานลำเลียงวัสดุด้วยลม เป็นต้น

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> Catalogue Ring Blower

กลิ่นอับในห้องน้ำมาจากไหน ?

 

 

 

 

 

 

ปัญหาที่พบกันส่วนใหญ่คือ  ทำไมติดพัดลมระบายอากาศในห้องน้ำ..แล้วยังมีกลิ่นอับ ?

จากตารางแนะนำการใช้งานพัดลมแต่ละชนิดจะพบว่า :  พัดลมฝังฝ้าที่นิยมเลือกใช้กันในห้องน้ำ                                                จำเป็นต้องต่อท่อตามที่ผู้ผลิตแนะนำ    เนื่องจากอากาศที่ดูดออกจากห้องน้ำ เป็นอากาศที่มีความชื้น   เมื่ออากาศปะทะกับฝ้าโดยตรง ความชื้นจะถูกสะสมอยู่ใต้ฝ้า ทำให้เกิดเชื้อราและกลิ่นอับชื้นในที่สุด  เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องเดินท่อเพื่อให้อากาศที่มีความชื้นถูกขับเคลื่อนออกจากใต้ฝ้า  ไหลไปตามท่อลมที่ติดตั้งไว้

พัดลมระบายอากาศ Mitsubishi

 

พัดลมระบายอากาศ Mitsubishi  :  เป็นพัดลมดูดอากาศที่แบ่งประเภทตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้
พัดลมแบบติดผนัง, พัดลมแบบติดกระจก และ พัดลมแบบฝังฝ้า   
รายละเอียดและคุณสมบัติอื่นๆ สามารถดาวโหลดอ่านได้จากลิงค์ Catalog ด้านล่างนี้

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> Exfan–MITSUBISHI

ว่าด้วยเรื่องพัดลมดูดควัน

มารู้จักการทำงานของพัดลมกันเถอะ !!!

พัดลมทุกชนิดจะทำหน้าที่หลักๆอยู่ 2 ประเภทคือ

1.ความสามารถในการดูดอากาศ และ 2.ความสามารถในการเติมอากาศ

เนื่องจากหลักการทำงานของพัดลมคือ การสร้างความแตกต่างแรงดัน เราจะดูดลมด้านหนึ่งเพื่อเป่าออกอีกด้านหนึ่ง นี่คือคำอธิบายง่ายๆเพื่อให้เห็นภาพ

และความสามารถดังกล่าวของพัดลมแต่ละชนิดก็จะแตกต่างกันไปตามลักษณะโครงสร้าง ลักษณะวัสดุที่ใช้ในการผลิต และปัจจัยอื่นๆ เช่น

–  พัดลมครูเกอร์ฯ รุ่น BSB (Single Inlet Centrifugal fan with Backward wheels) เหมาะกับงานประเภทดูดอากาศมากกว่าเป่า ด้วยลักษณะโครงสร้างพัดลม ที่มีช่องทางดูดหนึ่งด้าน-เป่าหนึ่งด้าน ส่วนใหญ่นิยมใช้ต่อท่อในงานดูดควันตามร้านอาหาร

–  พัดลมครูเกอร์ฯ ประเภท Jet Fan   ส่วนใหญ่ใช้ในงานเป่าส่งลมไล่อากาศร้อน อากาศมลพิษในลานจอดรถ
–  พัดลมครูเกอร์ฯ ประเภทติดผนัง รุ่น APL ก็เหมาะกับงานระบายอากาศ  เพราะความสามารถในการดูดและเป่าลมไม่สูงมาก  ด้วยลักษณะใบเป็น Axial ดูดตรง เป่าตรง ตัวพัดลมจึงสร้างแรงดันลมได้ไม่สูงนัก

 

ทำไมต้องเลือกใช้พัดลมใบเหล็ก(BSB)สำหรับงานดูดอากาศในครัว  

ทำไมถึงไม่นิยมใช้ใบกรงกระรอก(FSA)  ประเด็นนี้เป็นเรื่องทีน่าสนใจเป็นอย่างมาก สำหรับลูกค้าที่ต้องการหาพัดลมเพื่อดูดควันในครัว เราจะขออธิบายคร่าวๆให้เข้าใจกันง่ายๆนะคะ 

–  พัดลมครูเกอร์ฯรุ่น BSB เป็นพัดลมประเภทที่มีใบพัดหน้ากว้าง จำนวนใบไม่มาก แต่ลักษณะการทำลมของใบพัด จะใช้หลังใบในการตีลม ทำให้คราบต่างๆที่มากับอากาศหรือควันในระหว่างที่ทำอาหาร ถูกดูดและสลัดออกจากใบพัด….คำถามต่อมาคือ สลัดไปไหน?  คราบเหล่านี้จะเกาะอยู่ตามโครงสร้างพัดลม  และมารวมกันในจุดด้านล่างสุด ที่จะมีจุกสำหรับการถ่ายน้ำมันออกเรียกว่า Drian Plug ค่ะ
–  พัดลมครูเกอร์ฯประเภท FSA เป็นพัดลมประเภทที่ใบพัดมีลักษณะคล้ายกรงกรอก ขนาดใบเล็กและถี่  ลักษณะการทำลมจะใช้วิถีกวักลมเข้า เมื่อใช้ในงานดูดควันที่มีคราบน้ำมันหรือสิ่งสกปรก  จะทำให้คราบเหล่านี้เกาะตามโคนใบ  เมื่อใช้ไปในระยะเวลาหนึ่ง ใบพัดจะเสียสมดุล(คราบที่เกาะ ก็เหมือนการถ่วงน้ำหนักที่ใบพัดเพิ่ม) ทำให้พังและชำรุดไปในที่สุด  จึงเหมาะกับงานประเภท Fresh Air เติมลมมากกว่า เพราะอากาศที่จะเติมเข้าไปไม่มีคราบสกปรกจากการทำครัว

คำถามถัดมาคือ…จำเป็นไหม?   ถ้าเรามีพัดลมดูดควันออก แล้วต้องมีพัดลมเติมอากาศเข้า
คำตอบคือ  แล้วแต่ลักษณะหน้างาน เช่น ถ้าเป็นห้องที่มีการเปิด-ปิดประตู อยู่เป็นประจำ อากาศก็จะเข้ามาเองโดยธรรมชาติ  ไม่จำเป็นต้องใช้พัดลมช่วยเติมก็อากาศก็ได้  หากต้องการเติมก็สามารถทำได้ แต่จะเป็นการสิ้นเปลืองสำหรับลูกค้า  ในทางกลับกันหากห้องนั้นเป็นห้องที่ไม่มีระบบให้อากาศถ่ายเทเข้ามาเลย  จำเป็นต้องใช้พัดลมเติมอากาศ (Fresh Air) เข้าช่วย  เพราะหากไม่เติม คนที่ต้องอยู่ในห้องดังกล่าวจะรู้สึกร้อน ไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว  เพราะอากาศไม่มีการถ่ายเทหรือหมุนเวียน

แต่ร้านอาหารที่อยู่ตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ จำเป็นต้องมีพัดลมเติมอากาศ  เนื่องจากหากในร้านมีการดูดควันอากาศออก นั่นหมายความว่าอากาศในห้องจะเป็นลบ ทำให้อากาศเย็นในห้างสรรพสินค้าที่มีค่าเป็นบวกไหลเข้ามาในร้านอาหารนั้นๆ  ในกรณีนี้จะส่งผลให้อากาศในห้างสรรพสินค้าความเย็นลดลง และจะเป็นการเพิ่มภาระในการทำความเย็นของห้างสรรพสินค้า  ลักษณะการเติมอากาศในร้านอาหารอาจจะใช้วิธีสร้างม่านอากาศบริเวณประตูปิด-เปิดก็ได้ เพื่อป้องกันการไหลของอากาศในห้างสรรพสินค้าเข้ามา

 

จะเลือกพัดลมดูดควันในครัว ต้องรู้อะไรบ้าง

  1. ขนาด Hood หรือกระโจม ที่ใช้ในการดูดควัน (ความกว้าง*ความยาว) ยิ่ง Hood ขนาดใหญ่ ก็จำเป็นต้องใช้พัดลมที่ดูดลมปริมาณมาก
  2. ความยาวท่อโดยรวม และจำนวนข้องอของท่อ การเดินทางของลม ยิ่งไกลยิ่งงอก็จะยิ่งสูญเสียลมไประหว่างทาง  ทำให้จำเป็นต้องทราบ Pressure Loss แรงดันที่สูญเสียไปด้วย

ทำไมต้องใช้ Hood ในการดูดควันด้วย?

หากดูดควันจากท่อโดยตรง  พื้นที่ที่สามารถดูดควันได้ก็จะเป็นพื้นที่ของหน้าตัดท่อ ซึ่งมีบริเวณค่อนข้างแคบ  การใช้ Hood คือการกำหนดพื้นที่ที่ต้องการดูดควันให้ครอบคลุมทั้งหมด

แล้วเราควรเลือกใช้ Hood ขนาดเท่าไหร่?

ไม่ยากเลย สำหรับคำถามนี้  ให้เลือกขนาดที่ใหญ่กว่าขนาดเตาเล็กน้อย  ถ้าทราบขนาดเตาก็จะทราบขนาด Hood ที่ควรเลือกใช้

Hood จำเป็นต้องมีตะแกรงกรองน้ำมันไหม?

คำตอบนี้ขึ้นอยู่กับลูกค้าเลยค่ะ  ตะแกรงกรองน้ำมัน ก็คือด่านแรกที่ใช้ดักจับคราบน้ำมันก่อนถูกดูดไปถึงตัวพัดลม เพราะคราบน้ำมันที่ถูกดูดเข้าตัวพัดลม ส่วนหนึ่งนอกจากเกาะตามโครงสร้างพัดลมแล้ว ยังถูกเป่าออกทางอากาศภายนอกด้วยเช่นกัน (ถ้ามีบ้านใกล้เรือนเคียงอยู่ติดๆกัน ก็ควรใส่ตะแกรงกรองน้ำมันค่ะ เพื่อป้องกันคราบที่อาจจะหลุดไปรบกวนบ้างข้างๆให้น้อยที่สุด)

 

รูปแบบการติดตั้งท่อดูด-เป่าสำคัญไฉน?…….สำคัญมาก !!

เนื่องจากการทำงานของอากาศ(ลม) จะแปรเปลี่ยนทิศทางการไหลตามลักษณะของท่อ  การเดินท่อที่ดีย่อมมีผลมากต่อการเดินทางของลม ยกตัวอย่างเช่น  ถ้าเราเดินท่อพัดลมด้านเป่าสั้นและมีข้อง้อหักทันที ก็ไม่ต่างอะไรกับการเอาแผ่นสังกะสีปิดปากพัดลม นั่นหมายความว่า ลมที่ออกจากตัวพัดลมจะออกไปได้น้อย เกิดสภาวะลมอั้น  เมื่อทิศทางของลมแปรปรวนบางส่วนอาจพุ่งออกไปได้ แต่บางส่วนก็อาจจะย้อนกลับ หรือบางส่วนก็จะไปพุ่งใส่ท่อทำให้ท่อเกิดความเสียหาย  การติดตั้งลักษณะนี้ต่อให้พัดลมดูดได้แรงแค่ไหนก็จะไม่สามารถนำลมออกไปได้เช่นกัน

***ลมที่ดูดเข้ามาและลมเป่าออกไป ควรมีระยะให้ลมไม่ปั่นป่วน เพื่อจะได้ปริมาณลมที่เต็มประสิทธิภาพ***

 

รูปด้านล่างคือ ลักษณะและระยะแนะนำ ในการติดตั้งท่อทางดูด-เป่า ของพัดลมครูเกอร์ฯ

 

BSB (พัดลมดูดอากาศในครัว)

 

BSB พัดลมชนิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugal) ใบเหล็ก(Backward Curved)
ใช้หลังใบทำลม เป็นพัดลมที่เหมาะสำหรับการดูดหรือเติมอากาศในอุตสาหกรรมการผลิต
ครัวเรือน และในอุตสาหกรรมระบบปรับอากาศ 

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —>   BSB (Single Inlet Centrifugal Fan with Backward)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

FSA (พัดลมเติมอากาศ)

FSA :  พัดลมชนิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugal) ที่มีใบพัดแบบไปข้างหน้า (Forward Curved)  เป็นพัดลมที่เหมาะสำหรับการดูดหรือเติมอากาศในอุตสาหกรรมการผลิต และในอุตสาหกรรมระบบปรับอากาศ
ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —>  FSA (Single Inlet Centrifugal Fan with Forward wheels)


ASA (พัดลมดูด-เติมอากาศ ประหยัดพลังงานประมาณ 5-10%)

ASA :  พัดลมชนิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugal) ที่มีใบพัดแบบ Airfoil ทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นและเสียงเงียบ เป็นพัดลมที่เหมาะสำหรับการดูดหรือเติมอากาศในอุตสาหกรรมการผลิต ครัวเรือน และในอุตสาหกรรมระบบปรับอากาศ

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —>  ASA (Single Inlet Centrifugal Fan with Airfoil wheels)

BDB (พัดลมที่ใช้ในตู้ AHU)

BDB : พัดลมชนิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugal) ที่มีใบพัดแบบย้อนหลังแบบคู่ (Backward Curved) ทำให้ทำลมได้เพิ่มมากขึ้น เป็นพัดลมที่เหมาะสำหรับการดูดหรือเติมอากาศในอุตสาหกรรมการผลิต ครัวเรือน และในอุตสาหกรรมระบบปรับอากาศ

หมายเหตุ : หากจะต่อท่อลมต้องทำตู้ Cabinet ครอบพัดลมก่อน

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —>  BDB (Double Inlet Centrifugal with Backward wheels)

FDA (พัดลมที่ใช้ในตู้ AHU)

FDA :  พัดลมชนิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugal) ที่มีใบพัดแบบย้อนหลังแบบคู่ (Forward Curved) ทำให้ทำลมได้เพิ่มมากขึ้น เป็นพัดลมที่เหมาะสำหรับการดูดหรือเติมอากาศในอุตสาหกรรมการผลิต และในอุตสาหกรรมระบบปรับอากาศ

หมายเหตุ : หากจะต่อท่อลมต้องทำตู้ Cabinet ครอบพัดลมก่อน

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —>  FDA (Double Inlet Centrifugal with Forward wheels)

ADA (พัดลมที่ใช้ในตู้ AHU)

ADA : พัดลมชนิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugal) ที่มีใบพัดแบบ Airfoil แบบคู่ (Airfoil Curved) ทำให้ทำลมได้เพิ่มมากขึ้น โดยเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นและเสียงเงียบ เป็นพัดลมที่เหมาะสำหรับการดูดหรือเติมอากาศในอุตสาหกรรมการผลิต และในอุตสาหกรรมระบบปรับอากาศ

หมายเหตุ : หากจะต่อท่อลมต้องทำตู้ Cabinet ครอบพัดลมก่อน

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> ADA (Double Inlet Centrifugal Fan with Airfoil wheels)

TDA (พัดลมระบายอากาศ)

TDA : พัดลมชนิดไหลตามแนวแกน (Axial) Casing ทำมาจากเหล็กชุบสังกระสี โดยใบพัดมี 2 ชนิดคือ Aluminium และ PPG,PAG เป็นพัดลมที่เหมาะสำหรับการดูดหรือเติมอากาศในอุตสาหกรรมการผลิต และในอุตสาหกรรมระบบปรับอากาศ ที่ใช้แรงดันไม่สูง มีพื้นที่ติดตั้งน้อย หรือลักษณะของท่อลมบังคับให้เป็นแนวตรง

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> TDA

TDA-V (พัดลมระบายอากาศ)

TDA-V : พัดลมชนิดไหลตามแนวแกน (Axial) Casing ทำมาจากเหล็กชุบสังกระสี โดยใบพัดมี 2 ชนิดคือ Aluminium และ PPG,PAG  โดยรุ่น –V จะมีการเพิ่มครีบนำลมที่ด้านเข้าของอากาศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงยิ่งขึ้นและเสียงเงียบ เป็นพัดลมที่เหมาะสำหรับการดูดหรือเติมอากาศในอุตสาหกรรมการผลิต และในอุตสาหกรรมระบบปรับอากาศ ที่ใช้แรงดันไม่สูง มีพื้นที่ติดตั้งน้อย หรือลักษณะของท่อลมบังคับให้เป็นแนวตรง

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> TDA-V

APL (พัดลมติดผนัง)

 

APL : พัดลมชนิดสำหรับติดตั้งบนผนังหรือแผง เพื่อนำอากาศเข้า-ออกภายนอกได้โดยตรง

    • ใบพัดจะถูกประกอบติดกับมอเตอร์
    • แผ่นโครงสร้างทำด้วยเหล็กชุบสังกะสีเกรดสูง
    • ใบพัดผ่านการทำสมดุลมาอย่างดี
    • เสียงเงียบและมีประสิทธิภาพสูง

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> APL – CAT036.E0.ED1 20181003

CFT (Cabinet Fan)

CFT : พัดลมชนิด Cabinet ที่ข้างในเป็นพัดลม Centrifugal ทำให้ทำลมได้มากขึ้นละสามารถต่อท่อลมในแนวตรงได้

    • ตัว Cabinet ทำมาจากเหล็กเคลือบสังกะสีคุณภาพดี

    • ภายในตู้ Cabinet มีปริงสำหรับรองรับน้ำหนักพัดลม

    • สามารถสั่งทำสำหรับใส่ Filter ได้

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> CFT

IJM-N (พัดลมระบายอากาศในลานจอดรถ)

IJM-N : พัดลม Jet Fan ที่ทางออกมี Nozzle เพื่อให้ลมพุ่งไปได้ไกล

    • ใบพัดเป็นแบบ Mixed Flow
    • สามารถทนอุณหภุมิได้มากถึง 40°C

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> IJM-N   **ปัจจุบันผลิตได้ถึงรุ่น  IJM 315  (Catalog ยังไม่ถูกอัพเดท)**

IJB (พัดลมระบายอากาศในลานจอดรถ)

IJB : พัดลม Jet Fan ที่มีการติด Silencer ไว้ที่ทางเข้าและทางออกของพัดลม เพื่อเป็นการลดเสียง

    • ใบพัดเป็นแบบ Mixed Flow
    • สามารถทนอุณหภุมิได้มากถึง 40 ºC

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> IJB-LEA136.E1 ED1

**ปัจจุบันผลิตได้ถึงรุ่น  IJB 400 แต่เสียงค่อนข้างดังมาก  (Catalog ยังไม่ถูกอัพเดท)**

IJC (พัดลมระบายอากาศในลานจอดรถ)

IJC : พัดลม Jet Fan ที่ด้านทางออกมีหัว Nozzle 3 หัว

    • Cabinet ทำมาจากแผ่นเหล็กเคลือบสังกะสี
    • หัว Nozzles สามารถหมุนได้ 360° ได้ทั้ง 3 หัว

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> IJC

IJC II (พัดลมระบายอากาศในลานจอดรถ)

 

IJC II  : พัดลม Jet Fan ที่เหมาะสมกับการใช้งานในลานจอดรถใต้ดิน ที่มีเพดานต่ำ

  • สามารถทำลมได้มาก
  • ส่งลมได้ระยะไกล
  • บำรุงรักษาง่าย

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> IJC II

TSK II

TSK II : เป็นพัดลมระบายอากาศแบบ In-Line (ทางเข้าออกตรงกัน) โดยสามารถใช้งานได้หลากหลาย เช่น ในห้องน้ำ ห้องครัว ออฟฟิศ โรงงาน ฯลฯ

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> TSKII

MTD

MTD : เป็นพัดลมระบายอากศแบบ In-Line (ทางเข้าออกตรงกัน) ที่มีใบพัดเป็นแบบ Mixed Flow 

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> ไม่สามารถดาวโหลดไฟล์  รบกวนส่งอีเมล์ถึง :   [email protected] หรือโทร :   062-002-6600 เพื่อขอไฟล์โดยตรง

MTD Silent

MTD Silent : เป็นพัดลมระบายอากศแบบ In-Line (ทางเข้าออกตรงกัน) ที่มีใบพัดเป็นแบบ Mixed Flow อีกทั้งยังมีการติด Silencer ที่ตัวพัดลมทำให้ MTD Silent มีเสียงเงียบกว่า MTD

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> MTD Silent

Spring Isolator

Spring Isolator : สำหรับไว้รองรับน้ำหนักของพัดลมขณะที่สตาร์ทเครื่องและในตอนทำงาน  เพื่อป้องกันโครงสร้างของอาคารและพัดลมเสียหาย

ดาวโหลดไฟล์ Catalog คลิ๊กที่นี่ —> Spring Isolator

หลักการทำงานของพัดลม

การสร้างความแตกต่างแรงดันของอากาศ  เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายมวลอากาศ  โดยแรงดันที่ถูกสร้างขึ้นจะต้องมากกว่าแรงดัน ณ จุดจุดนั้น (System loss)  โดยปกติแล้วความดันอากาศสูงจะเคลื่อนย้ายไปหาความดันอากาศที่ต่ำกว่า

มาตรฐาน AMCA คืออะไร

AMCA  ย่อมาจาก  Air Movement and Control Association

เป็นองค์กรส่วนกลางที่ใช้ตรวจสอบและยืนยันประสิทธภาพของระบบระบายอากาศ เป็นที่ยอมรับและมีน่าเชื่อถือในระดับสากล 

ดังนั้นพัดลมที่ผ่านมาตรฐาน AMCA จึงมีความน่าเชื่อถือในประสิทธิภาพได้อย่างแน่นอน เช่น พัดลมแบรนด์ครูเกอร์ฯ