Category: เกร็ดความรู้

การคำนวณปริมาณลม(คร่าวๆ)จากฮูดดูดควัน

การเลือกใช้พัดลมหอยโข่ง (Centrifugal Fan)  สำหรับระบบดูดควันตามร้านอาหารทั่วไปนั้น สิ่งที่จำเป็นต้องรู้เพื่อเลือกขนาดและกำลังพัดลมให้มีความแรงพอที่จะดูดควันจากการทำอาหารได้อย่างเหมาะสม ได้แก่   1) ปริมาณลม  2) Static Pressure (Loss ในระบบ เช่น ฟิลเตอร์กรองน้ำมัน, ข้องอ, ระยะความยาวท่อ, ขนาดท่อ, ลักษณะการติดตั้ง เป็นต้น)

นอกจากนี้ในกรณีพื้นที่ปิด  หรือ พื้นที่ที่ไม่ช่องให้ลมธรรมชาติไหลเติมเข้ามา(หรือมีแต่น้อย)  ควรเพิ่มระบบเติมอากาศเข้าไปในห้อง  เพื่อให้การดูดอากาศทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ (คล้ายๆการปรับสมดุลธรรมชาติ กล่าวคือ เมื่อมีอากาศถูกดูดออก–ก็ต้องมีอากาศเติมเข้ามา // ถ้าดูดอย่างเดียวโดยที่ไม่มีการเติมอากาศ–>สุดท้ายแล้วก็จะไม่เหลืออากาศให้ดูด–>ซึ่งส่งผลให้การดูดไม่เป็นผลในที่สุด เปรียบเสมือน การดูดกล่องนมจนฟี๊บจนไม่เหลืออะไรให้ดูดแม้แต่อากาศ แต่ถ้าเราปล่อยให้อากาศไหลเข้ากล่องนม เราก็ยังสามารถดูดอากาศนั้นได้เรื่อยๆ

———————————————————————————————-

———————————————————————————–

ความสำคัญของขนาดท่อลม

ผังถนนในการเดินรถ ก็เปรียบเสมือน ผังการเดินท่อในระบบระบายอากาศ
รถยนต์บนถนน เปรียบเสมือน ตัวแทนของอากาศในระบบท่อ
การลดเลนถนนจาก 4-6 เลน เหลือเพียง 2-3 เลน ทำให้เกิดการจราจรติดขัด ก็เปรียบเสมือน

การลดขนาดท่อทำให้เกิด #สภาวะลมอั้น ต่อให้พัดลมทำลมแรงแค่ไหน ก็ไม่สามารถแสดงประสิทธิภาพได้เต็ม 100%

#ลมอั้น เกิดจากการไหลออกของอากาศลดลง เมื่อปริมาณลมออกได้น้อยลง ย่อมส่งผล effect ต่อปริมาณลมด้านดูดที่น้อยลงเช่นกัน  โดย #สภาวะลมอั้น ที่เกิดขึ้นนี้ถือเป็น Static Pressure (Pressure Loss) ในระบบที่เพิ่มขึ้น ซึ่ง Static Pressure ที่เพิ่มขึ้นมานี้ อาจไม่ถูกคำนวณเผื่อไว้ในตอนแรกในการเลือกพัดลม ส่งผลให้พัดลมไม่สามารถทำปริมาณลมได้ตามที่คำนวณไว้
การลดขนาดท่อที่ไม่เป็นไปตามคำแนะนำหรือมาตรฐานที่เหมาะสม เปรียบเสมือนการเพิ่ม Pressure Loss ในระบบ ทำให้ปริมาณลมเข้า-ออก ลดลง หรือเปรียบเสมือน ขวดน้ำที่คอคอด เราจะสังเกตได้ง่ายๆจากตอนเราเทน้ำออกจากขวดประเภทนี้ น้ำจะแข่งกันไหลออกจนเกิดแรงดันอากาศ ความเร็วน้ำที่ไหลออกจากปากขวดก็จะแรง(Velocity Outlet)เมื่อเทียบกับการเทน้ำออกจากแก้วน้ำ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Cr…ภาพประกอบจาก google และสไลด์ System Effect จาก #พัดลมครูเกอร์

แนะนำการเดินท่อพัดลมหอยโข่ง(พัดลมครูเกอร์)

พัดลมอุตสาหกรรม (ในรูปตัวอย่างคือ พัดลมหอยโข่ง) โดยอ้างอิงข้อมูลจาก พัดลมครูเกอร์ ผู้ผลิตพัดลมอุตสาหกรรมรายหลัก
ในส่วนของ Installation Guidelines ที่เป็นสติ๊กเกอร์สีเหลืองนั้น ปกติจะถูกติดมากับพัดลมครูเกอร์ฯทุกตัว
เราจะมาอธิบายระยะ A กับ B เพิ่มเติม เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจมากขึ้น โดยเราจะอ้างอิงระยะ A กับ B ควบคู่กับระยะตัวแปรต่างๆใน catalog พัดลมครูเกอร์ฯ
     – ระยะ A : ระยะท่อตรงแนะนำ ก่อนที่จะหักข้องอ หรือลดหลั่นท่อ เพื่อให้ ลมที่ดูด-เป่า มีการไหลที่ราบรื่น นั่นหมายถึงมีประสิทธิภาพที่ดี
     – ระยะ B : ขนาดท่อแนะ
       ระยะ B ด้านดูด = ระยะ V ใน catalog (ท่อกลม)
       ระยะ B ด้านเป่า = ระยะ S,K ใน catalog (ท่อเหลี่ยม)
**ทั้งนี้ หากระยะ A กับ B ต่ำกว่าที่ผู้ผลิตแนะนำ ลมทั้งด้านดูด-เป่า จะต่ำกว่าสเป็กที่ลูกค้ากำหนด เพราะการติดตั้งก็คือ Pressure Loss ตัวสำคัญตัวหนึ่ง ที่ทำให้เกิดปัญหาลมไม่เพียงพอ หรือเรียกในศัพท์พัดลมว่า static pressure**
หมายเหตุ :  นี่คือการอธิบายให้ความรู้โดยคร่าวๆ เพื่อให้งานติดตั้งเข้าใจง่ายเท่านั้น หากนำไปใช้เสนองานควรหาข้อมูลอ้างอิงจากแหล่งต่างๆโดยละเอียด

 
 
 
                
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

การระบายอากาศคืออะไร?

การระบายอากาศ หมายถึง การทำให้อากาศเกิดการไหลเวียนและถ่ายเทภายในอาคาร โดยจะต้องมีระบบการนำเอาอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกเข้ามาเติม (Fresh Air) ในบริเวณที่ต้องการปรับอากาศ ในปริมาณที่เพียงพอ และจะต้องมีการระบายอากาศเสีย (Exhaust Air) ทิ้งออกไป เพื่อรักษาคุณภาพอากาศภายในอาคาร ซึ่งประเภทของการระบายอากาศแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. การระบายอากาศตามธรรมชาติ คือ การไหลของอากาศผ่านทางช่องเปิดหน้าต่าง ประตู และช่องเปิดของเปลือกอาคาร    เกิดขึ้นจากแรงดันอากาศที่แตกต่างตามธรรมชาติ หรือที่มนุษย์สร้างขึ้น

                                                                                              รูปที่ 1 แสดงการระบายอากาศตามธรรมชาติ

          2. การระบายอากาศแบบเครื่องกล คือ การตั้งใจให้เกิดการเคลื่อนที่ของอากาศเข้า     และออกจากอาคารโดยใช้พัดลมในการระบายอากาศ

                                                                                                 รูปที่ 2 แสดงการระบายอากาศทางกล

ตารางเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียระหว่างการระบายอากาศแบบธรรมชาติและแบบเครื่องกล

 

การระบายอากาศแบบเครื่องกล

การระบายอากาศแบบธรรมชาติ

ข้อดี

เหมาะสำหรับทุกสภาพอากาศ ระบบระบายอากาศทางกลสามารถควบคุมได้โดยมนุษย์ และสามารถปรับระดับการถ่ายเทของอากาศได้ตามต้องการ

ไม่มีต้นทุนในการลงทุนในการติดตั้งระบบประบอากาศ และต้นทุนค่าไฟฟ้า อีกทั้งยังไม่ต้องมีกระบวนการบำรุงรักษา

ข้อเสีย

ต้องมีการติดตั้งเพิ่มเติม ส่งผลให้มีต้นทุนที่สูงกว่าการระบายอากาศแบบธรรมชาติ และกระบวนการในการบำรุงรักษา อีกทั้งยังก่อให้เกิดมีเสียงดังเกิดขึ้นจากระบบปรับอากาศ

ไม่สามารถควบคุมอัตราการระบายอากาศได้ โดยการระบายอากาศจะเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่เปิด ของพื้นที่ที่ต้องการระบายอากาศ

 

ความหมายของ IP มอเตอร์ (IEC)

เรามาทำความรู้จัก ความหมายของ IP มอเตอร์ ที่ใช้ประกอบกับพัดลมอุตสาหกรรม

ก่อนที่ลูกค้าจะทำการเลือกซื้อกันนะครับ

         มอเตอร์ทั่วไปที่ลูกค้าเลือกใช้กับพัดลม จะมี 2 ลักษณะ คือ

        –   มอเตอร์ 3 Phase IE1 (ใช้กับไฟโรงงาน 380Volt) ส่วนใหญ่  จะอยู่ที่  IP55

        –   มอเตอร์ 1 Phase (ใช้กับไฟบ้าน 220Volt) โดยทั่วไป จะอยู่ที่ IP42

                                   

 

ระดับความดังของเสียง

ข้อมูลเสียงจาก :  กรมส่งเสริมสุขภาพสิ่งแวดล้อม

จะพบว่าเสียงที่ดังเกิน 85 เดซิเบล(เอ)  เป็นอันตรายต่อมนุษย์  จึงมีกฎเกณฑ์กำหนดดังนี้

 

***นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เรื่อง “การเปรียบเทียบความดังเสียง” เข้าใจง่ายๆตามรูปด้านล่างนี้

**จะพบว่า ระดับความดังพัดลมส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 65-70+ เดซิเบล(เอ)  ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ***

กลิ่นอับในห้องน้ำมาจากไหน ?

 

 

 

 

 

 

ปัญหาที่พบกันส่วนใหญ่คือ  ทำไมติดพัดลมระบายอากาศในห้องน้ำ..แล้วยังมีกลิ่นอับ ?

จากตารางแนะนำการใช้งานพัดลมแต่ละชนิดจะพบว่า :  พัดลมฝังฝ้าที่นิยมเลือกใช้กันในห้องน้ำ                                                จำเป็นต้องต่อท่อตามที่ผู้ผลิตแนะนำ    เนื่องจากอากาศที่ดูดออกจากห้องน้ำ เป็นอากาศที่มีความชื้น   เมื่ออากาศปะทะกับฝ้าโดยตรง ความชื้นจะถูกสะสมอยู่ใต้ฝ้า ทำให้เกิดเชื้อราและกลิ่นอับชื้นในที่สุด  เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องเดินท่อเพื่อให้อากาศที่มีความชื้นถูกขับเคลื่อนออกจากใต้ฝ้า  ไหลไปตามท่อลมที่ติดตั้งไว้

ว่าด้วยเรื่องพัดลมดูดควัน

มารู้จักการทำงานของพัดลมกันเถอะ !!!

พัดลมทุกชนิดจะทำหน้าที่หลักๆอยู่ 2 ประเภทคือ

1.ความสามารถในการดูดอากาศ และ 2.ความสามารถในการเติมอากาศ

เนื่องจากหลักการทำงานของพัดลมคือ การสร้างความแตกต่างแรงดัน เราจะดูดลมด้านหนึ่งเพื่อเป่าออกอีกด้านหนึ่ง นี่คือคำอธิบายง่ายๆเพื่อให้เห็นภาพ

และความสามารถดังกล่าวของพัดลมแต่ละชนิดก็จะแตกต่างกันไปตามลักษณะโครงสร้าง ลักษณะวัสดุที่ใช้ในการผลิต และปัจจัยอื่นๆ เช่น

–  พัดลมครูเกอร์ฯ รุ่น BSB (Single Inlet Centrifugal fan with Backward wheels) เหมาะกับงานประเภทดูดอากาศมากกว่าเป่า ด้วยลักษณะโครงสร้างพัดลม ที่มีช่องทางดูดหนึ่งด้าน-เป่าหนึ่งด้าน ส่วนใหญ่นิยมใช้ต่อท่อในงานดูดควันตามร้านอาหาร

–  พัดลมครูเกอร์ฯ ประเภท Jet Fan   ส่วนใหญ่ใช้ในงานเป่าส่งลมไล่อากาศร้อน อากาศมลพิษในลานจอดรถ
–  พัดลมครูเกอร์ฯ ประเภทติดผนัง รุ่น APL ก็เหมาะกับงานระบายอากาศ  เพราะความสามารถในการดูดและเป่าลมไม่สูงมาก  ด้วยลักษณะใบเป็น Axial ดูดตรง เป่าตรง ตัวพัดลมจึงสร้างแรงดันลมได้ไม่สูงนัก

 

ทำไมต้องเลือกใช้พัดลมใบเหล็ก(BSB)สำหรับงานดูดอากาศในครัว  

ทำไมถึงไม่นิยมใช้ใบกรงกระรอก(FSA)  ประเด็นนี้เป็นเรื่องทีน่าสนใจเป็นอย่างมาก สำหรับลูกค้าที่ต้องการหาพัดลมเพื่อดูดควันในครัว เราจะขออธิบายคร่าวๆให้เข้าใจกันง่ายๆนะคะ 

–  พัดลมครูเกอร์ฯรุ่น BSB เป็นพัดลมประเภทที่มีใบพัดหน้ากว้าง จำนวนใบไม่มาก แต่ลักษณะการทำลมของใบพัด จะใช้หลังใบในการตีลม ทำให้คราบต่างๆที่มากับอากาศหรือควันในระหว่างที่ทำอาหาร ถูกดูดและสลัดออกจากใบพัด….คำถามต่อมาคือ สลัดไปไหน?  คราบเหล่านี้จะเกาะอยู่ตามโครงสร้างพัดลม  และมารวมกันในจุดด้านล่างสุด ที่จะมีจุกสำหรับการถ่ายน้ำมันออกเรียกว่า Drian Plug ค่ะ
–  พัดลมครูเกอร์ฯประเภท FSA เป็นพัดลมประเภทที่ใบพัดมีลักษณะคล้ายกรงกรอก ขนาดใบเล็กและถี่  ลักษณะการทำลมจะใช้วิถีกวักลมเข้า เมื่อใช้ในงานดูดควันที่มีคราบน้ำมันหรือสิ่งสกปรก  จะทำให้คราบเหล่านี้เกาะตามโคนใบ  เมื่อใช้ไปในระยะเวลาหนึ่ง ใบพัดจะเสียสมดุล(คราบที่เกาะ ก็เหมือนการถ่วงน้ำหนักที่ใบพัดเพิ่ม) ทำให้พังและชำรุดไปในที่สุด  จึงเหมาะกับงานประเภท Fresh Air เติมลมมากกว่า เพราะอากาศที่จะเติมเข้าไปไม่มีคราบสกปรกจากการทำครัว

คำถามถัดมาคือ…จำเป็นไหม?   ถ้าเรามีพัดลมดูดควันออก แล้วต้องมีพัดลมเติมอากาศเข้า
คำตอบคือ  แล้วแต่ลักษณะหน้างาน เช่น ถ้าเป็นห้องที่มีการเปิด-ปิดประตู อยู่เป็นประจำ อากาศก็จะเข้ามาเองโดยธรรมชาติ  ไม่จำเป็นต้องใช้พัดลมช่วยเติมก็อากาศก็ได้  หากต้องการเติมก็สามารถทำได้ แต่จะเป็นการสิ้นเปลืองสำหรับลูกค้า  ในทางกลับกันหากห้องนั้นเป็นห้องที่ไม่มีระบบให้อากาศถ่ายเทเข้ามาเลย  จำเป็นต้องใช้พัดลมเติมอากาศ (Fresh Air) เข้าช่วย  เพราะหากไม่เติม คนที่ต้องอยู่ในห้องดังกล่าวจะรู้สึกร้อน ไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว  เพราะอากาศไม่มีการถ่ายเทหรือหมุนเวียน

แต่ร้านอาหารที่อยู่ตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ จำเป็นต้องมีพัดลมเติมอากาศ  เนื่องจากหากในร้านมีการดูดควันอากาศออก นั่นหมายความว่าอากาศในห้องจะเป็นลบ ทำให้อากาศเย็นในห้างสรรพสินค้าที่มีค่าเป็นบวกไหลเข้ามาในร้านอาหารนั้นๆ  ในกรณีนี้จะส่งผลให้อากาศในห้างสรรพสินค้าความเย็นลดลง และจะเป็นการเพิ่มภาระในการทำความเย็นของห้างสรรพสินค้า  ลักษณะการเติมอากาศในร้านอาหารอาจจะใช้วิธีสร้างม่านอากาศบริเวณประตูปิด-เปิดก็ได้ เพื่อป้องกันการไหลของอากาศในห้างสรรพสินค้าเข้ามา

 

จะเลือกพัดลมดูดควันในครัว ต้องรู้อะไรบ้าง

  1. ขนาด Hood หรือกระโจม ที่ใช้ในการดูดควัน (ความกว้าง*ความยาว) ยิ่ง Hood ขนาดใหญ่ ก็จำเป็นต้องใช้พัดลมที่ดูดลมปริมาณมาก
  2. ความยาวท่อโดยรวม และจำนวนข้องอของท่อ การเดินทางของลม ยิ่งไกลยิ่งงอก็จะยิ่งสูญเสียลมไประหว่างทาง  ทำให้จำเป็นต้องทราบ Pressure Loss แรงดันที่สูญเสียไปด้วย

ทำไมต้องใช้ Hood ในการดูดควันด้วย?

หากดูดควันจากท่อโดยตรง  พื้นที่ที่สามารถดูดควันได้ก็จะเป็นพื้นที่ของหน้าตัดท่อ ซึ่งมีบริเวณค่อนข้างแคบ  การใช้ Hood คือการกำหนดพื้นที่ที่ต้องการดูดควันให้ครอบคลุมทั้งหมด

แล้วเราควรเลือกใช้ Hood ขนาดเท่าไหร่?

ไม่ยากเลย สำหรับคำถามนี้  ให้เลือกขนาดที่ใหญ่กว่าขนาดเตาเล็กน้อย  ถ้าทราบขนาดเตาก็จะทราบขนาด Hood ที่ควรเลือกใช้

Hood จำเป็นต้องมีตะแกรงกรองน้ำมันไหม?

คำตอบนี้ขึ้นอยู่กับลูกค้าเลยค่ะ  ตะแกรงกรองน้ำมัน ก็คือด่านแรกที่ใช้ดักจับคราบน้ำมันก่อนถูกดูดไปถึงตัวพัดลม เพราะคราบน้ำมันที่ถูกดูดเข้าตัวพัดลม ส่วนหนึ่งนอกจากเกาะตามโครงสร้างพัดลมแล้ว ยังถูกเป่าออกทางอากาศภายนอกด้วยเช่นกัน (ถ้ามีบ้านใกล้เรือนเคียงอยู่ติดๆกัน ก็ควรใส่ตะแกรงกรองน้ำมันค่ะ เพื่อป้องกันคราบที่อาจจะหลุดไปรบกวนบ้างข้างๆให้น้อยที่สุด)

 

รูปแบบการติดตั้งท่อดูด-เป่าสำคัญไฉน?…….สำคัญมาก !!

เนื่องจากการทำงานของอากาศ(ลม) จะแปรเปลี่ยนทิศทางการไหลตามลักษณะของท่อ  การเดินท่อที่ดีย่อมมีผลมากต่อการเดินทางของลม ยกตัวอย่างเช่น  ถ้าเราเดินท่อพัดลมด้านเป่าสั้นและมีข้อง้อหักทันที ก็ไม่ต่างอะไรกับการเอาแผ่นสังกะสีปิดปากพัดลม นั่นหมายความว่า ลมที่ออกจากตัวพัดลมจะออกไปได้น้อย เกิดสภาวะลมอั้น  เมื่อทิศทางของลมแปรปรวนบางส่วนอาจพุ่งออกไปได้ แต่บางส่วนก็อาจจะย้อนกลับ หรือบางส่วนก็จะไปพุ่งใส่ท่อทำให้ท่อเกิดความเสียหาย  การติดตั้งลักษณะนี้ต่อให้พัดลมดูดได้แรงแค่ไหนก็จะไม่สามารถนำลมออกไปได้เช่นกัน

***ลมที่ดูดเข้ามาและลมเป่าออกไป ควรมีระยะให้ลมไม่ปั่นป่วน เพื่อจะได้ปริมาณลมที่เต็มประสิทธิภาพ***

 

รูปด้านล่างคือ ลักษณะและระยะแนะนำ ในการติดตั้งท่อทางดูด-เป่า ของพัดลมครูเกอร์ฯ

 

หลักการทำงานของพัดลม

การสร้างความแตกต่างแรงดันของอากาศ  เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายมวลอากาศ  โดยแรงดันที่ถูกสร้างขึ้นจะต้องมากกว่าแรงดัน ณ จุดจุดนั้น (System loss)  โดยปกติแล้วความดันอากาศสูงจะเคลื่อนย้ายไปหาความดันอากาศที่ต่ำกว่า

มาตรฐาน AMCA คืออะไร


AMCA  ย่อมาจาก  Air Movement and Control Association

เป็นองค์กรส่วนกลางที่ใช้ตรวจสอบและยืนยันประสิทธภาพของระบบระบายอากาศ เป็นที่ยอมรับและมีน่าเชื่อถือในระดับสากล 

ดังนั้นพัดลมที่ผ่านมาตรฐาน AMCA จึงมีความน่าเชื่อถือในประสิทธิภาพได้อย่างแน่นอน เช่น พัดลมแบรนด์ครูเกอร์ฯ

Curve พัดลมครูเกอร์ฯบอกอะไรเราได้บ้าง


หากต้องการทราบข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับพัดลมที่เราเลือกใช้  คุณสามารถหาต่างๆได้ทั้งหมด 7 ค่า จาก Curve พัดลมที่คุณมี

โดยคุณจะต้องรู้อย่างน้อย 2 ตัวแปรในการหาค่าต่างๆใน Curve  

Fan Performance Curve ของพัดลมที่ดีต้องแสดงค่า Parameter ที่เกี่ยวข้องกับพัดลมให้มากที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วยดังนี้

  1. ปริมาณลม (Air Capacity)
  2. ความดัน (Pressure)
  3. กำลังงานที่ต้องการ (Brake Horse Power)
  4. ประสิทธิภาพ (Efficiency)
  5. เสียง (Noise Level)
  6. ความเร็วรอบพัดลม (Fan Speed)
  7. ความเร็วที่ปากพัดลม (Outlet Velocity)

 

การแปลงหน่วยที่พบบ่อย


การวัดปริมาณลม และการวัดแรงดันในระบบของแต่ละเครื่องมือวัดจะใช้หน่วยที่ต่างกัน

แต่เราสามารถแปลงหน่วยให้ตรงตามความต้องการของเราได้ โดยอ้างอิงจากตารางสรุปด้านล่างนี้

สูตรที่ใช้ในการคำนวณปริมาณลม (Fan Laws)


สูตรหลักๆที่ใช้ในการคำนวณปริมาณลมกฎของ  Fan Laws

Fan Laws ใช้สำหรับคำนวณการเปลี่ยนแปลงของ Air Capacity , Pressure และ Power เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความเร็วรอบ,ขนาด หรือความหนาแน่น

โดยที่  Q = Air Capacity

  P = Pressure 

  W = Power  

  N = Fan Speed      

  d = Density    

  D = Wheel Diameter

  ส่วนใหญ่ d และ D คงที่